ข้อมูลวิชาการ
พรีไบโอติก
งานวิจัย
โปรตีน
เบาหวาน
งานวิจัยด้านล่างนี้ แปลจากบทความบางส่วนใน Medical News Today
Link : https://www.medicalnewstoday.com/articles/320210#benefits-of-wheatgrass
Preventing and treating type 2 diabetes (ป้องกันและบำบัดผู้เป็นเบาหวานประเภทที่ 2)
ในปี 2016 ได้ทำการวิจัยในผู้ป่วยเบาหวาน พบว่า วีทกราส ช่วยเพิ่มความสามารถในการสร้างอินซูลินฮอร์โมน และช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
Antioxidant and anti-inflammatory (ต้านอนุมูลอิสระและลดการอักเสบ)
อนุมูลอิสระตัวการใหญ่ที่ทำให้เกิดการอักเสบของร่างกาย การได้รับสารต้านอนุมูลอิสระทุกๆวัน จะส่งผลต่อความแข็งแรงของเซลล์ต่างๆของร่างกาย เซลล์ที่เกิดอนุมูลอิสระโจมตีอยู่เสมอจะเกิดความผิดปกติขึ้นเช่นกลายเป็นเซลล์มะเร็ง เกิดการอักเสบของข้อ หลอดเลือด ในอวัยะวะต่างๆ
วีทกราสมี สารต้านอนุมูลอิสระที่ดี ได้แก่ วิตามินC วิตามินB วิตามินE เบตาแคโรทีน
Cancer prevention and treatment (ป้องกันและเยียวยาผู้ป่วยมะเร็ง)
ในปี 2017 นักวิจัยได้ทดสอบมะเร็งช่องปาก ในแลป พบว่ามีส่วนทำให้มะเร็งโตช้าลง
ปี 2015 นักวิจัยพบว่าวีทกราสช่วยลดการขยายตัวของมะเร็งลำไส้ และทำให้เซลล์มะเร็งค่อยๆ ตาย
ในปี 2015 นักวิจัยได้ทดลองกับผู้ป่วยคีโม พบว่าลดผลข้างเคียงจากการทำคีโม
Fighting infections (ต่อสู้กับการติดเชื้อ)
บางงานวิจัยในปี 2015 พบว่าวีกราส ช่วยให้ร่างกายสร้าง แอนตี้บอดี้ ต่อสู้กับเชื้อโรค สามารถฆ่าและลดการติดเชื้อ
นักวิจัยตีพิมพ์ผลการทดลองในหลอดทดลอง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าต้นอ่อนข้าวสาลีมีคุณสมบัติต้านจุลชีพ (antimicrobial) ที่สามารถต่อสู้กับ:
การติดเชื้อสเตรปโทคอกคัส (strep) บางประเภท
Treating gastrointestinal distress (อาการที่เกี่ยวกับทางเดินอาหาร)
ในสมัยโบราณได้ใช้ต้นอ่อนข้าวสาลีในการบำบัดผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร เช่น แผลในกระเพาะ ท้องร่วง ระบบย่อยอาหารทำงานไม่ดี
แหล่งข้อมูลอ้างอิงเนื้อหาจาก
- Arora, S., & Tandon, S. (2016). Mitochondrial pathway mediated apoptosis and cell cycle arrest triggered by aqueous extract of wheatgrass in colon cancer colo-205 cells [Abstract].
https://link.springer.com/article/10.1007/s13562-015-0309-7
- Bar-Sela, G., et al. (2015). The medical use of wheatgrass: Review of the gap between basic and clinical applications [PDF].
https://pdfs.semanticscholar.org/46b8/ee98f7856d53c40688fdaa17eef6b9d46207.pdf?_ga=2.125579338.177931791.1571231643-1662965488.1571067929
- Gore, R. D., et al. (2017). Wheatgrass: Green blood can help to fight cancer.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5534514/
- Im, J.–Y., et al. (2014). Anti-obesity effect of Triticum aestivum sprout extract in high-fat-diet-induced obese mice.
https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/09168451.2015.1006567
- Is wheatgrass gluten-free? (n.d.).
https://www.beyondceliac.org/gluten-free-diet/is-it-gluten-free/wheatgrass/
- Khan, N., et al. (2015). Immunoprophylactic potential of wheatgrass extract on benzene-induced leukemia: An in vivo study on murine model.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4527060/
- Love, A. (n.d.). Western wheatgrass.
https://plants.usda.gov/plantguide/pdf/pg_pasm.pdf
- Mutha, A. S. et al. (2018). Efficacy and safety of wheat grass in thalassemic children on regular blood transfusion.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5947926/
- Parit, S. B. (2018). Nutritional quality and antioxidant activity of wheatgrass (Triticum aestivum) unwrap by proteome profiling and DPPH and FRAP assays [Abstract].
https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/1750-3841.14224
- Rajpurohit, L., et al. (2015). Evaluation of the anti-microbial activity of various concentration of wheat grass (Triticum aestivum) extract against gram-positive bacteria: An in vitro study.
http://www.jdrr.org/article.asp?issn=2348-2915;year=2015;volume=2;issue=2;spage=70;epage=72;aulast=Rajpurohit
- Shakya, G., et al. (2014). Hypoglycaemic role of wheatgrass and its effect on carbohydrate metabolic enzymes in type II diabetic rats [Abstract].
https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0748233714545202?rfr_dat=cr_pub%3Dpubmed&url_ver=Z39.88-2003&rfr_id=ori%3Arid%3Acrossref.org&journalCode=tiha
- Tsai, C.-C,. et al. (2013). The Immunologically Active Oligosaccharides Isolated from Wheatgrass Modulate Monocytes via Toll-like Receptor-2 Signaling.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3682569/
- Wan, P., et al. (2014). Advances in treatment of ulcerative colitis with herbs: From bench to bedside.
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4202341/
- Welty, F. K., et al. (2016). Targeting inflammation in metabolic syndrome.
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1931524415002224
- Wheatgrass powder. (2019).
https://fdc.nal.usda.gov/fdc-app.html#/food-details/601871/nutrients
🌾 วีทกราสอุดมด้วยโปรตีน
โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็น สำหรับร่างกาย โปรตีนแยกเป็น 2 กลุ่มคือ
- - กลุ่มโปรตีนจำเป็น (Essential Amino Acid)
- - กลุ่มโปรตีนไม่จำเป็น (Non Essential Amino Acid)
กลุ่มโปรตีนจำเป็น หมายถึง กลุ่มโปรตีนที่ร่ายกาย ไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้
จะต้องรับประทานเข้าไปเท่านั้น และร่างกายจำเป็นต้องการ ใช้โปรตีนเหล่านี้
หากขาดก็จะมีผลต่อกลไกของร่างกาย ร่างกายนำโปรตีนไปซ่อมแซมเนื้อเยื้อที่เสื่อมสภาพไป
โปรตีนเป็นสารตั้งต้น ของการผลิตฮอร์โมน เช่น อินซูลินฮอร์โมน Growth Hormone
สารภูมิต้านทาน เม็ดเลือด รหัสพันธุกรรม เป็นต้น
🌾 วีทกราส มีคลอโรฟิลล์สูง 70%
วีทกราส มีจุดเด่นที่สำคัญมาก คือมีคลอโรฟิลล์ในปริมาณที่สูง คลอโรฟิลล์ ช่วยขับล้างสารพิษ
ต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งพบว่า คลอโรฟิลล์ยังมี โครงสร้างเหมือนเม็ดเลือดแดง(ฮีม) งานวิจัยพบว่าร่างกาย
สามารถนำคลอโรฟิลล์ ไปใช้ในขบวนการสร้างเม็ดเลือดใหม่ คลอโรฟิลล์ยังมีคุณประโยชน์ อื่นๆอีกมาก
เช่น ลดกลิ่นตัว กลิ่นเท้า ช่วยสมานแผล ป้องกันมะเร็งตับจากเชื้อราอัลฟาท็อกซิล มีฤทธิ์เป็นด่าง
และเป็นยาระบายอย่างอ่อน ช่วยลดอาการท้องผูก
เบาหวานมีด้วยกัน 2 ประเภท
โรคเบาหวานชนิดที่ 1 ประเภทพึ่งอินซูลิน ( Insulin Dependent Diabetes Mellitus, IDDM )
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ มักจะพบในคนอายุน้อย หรือเกิดอาการก่อนอายุ 30 ปี
โดยเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้
เซลล์ตับอ่อนถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันตัวเองผู้ป่วยมักจะมีอาการ
น้ำหนักลดลง หิวน้ำบ่อยๆ ปัสสาวะบ่อยๆ
มีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากร่ายกายเปลี่ยนจากไขมันและโปรตีนในร่างกาย
มาใช้เป็นพลังงาน หากไม่รักษาอาจหมดสติได้และเป็นอันตรายถึงชีวิต
การรักษาแพทย์จะใช้วิธีการฉีดฮอร์โมนอินซูลินให้กับผู้ป่วย และให้ควบคุมอาหารและออกกำลังกายไปด้วย
2.โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประเภทไม่พึ่งอินซูลิน ( Non-Insulin Dependent Diabetes Mellitus, NIDDM)
เบาหวานชนิดนี้ มักพบในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 30 ปี โดยเฉพาะผู้ที่อ้วน
สามารถพบได้บ่อยกว่าโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มีสาเหตุ
เกิดจากการที่ร่างกายสามารถผลิตอินซูลินขึ้นเองได้
แต่อินซูลินไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ ไม่เพียงพอในร่างกายหรือเซลล์เอง
ที่ไม่ค่อยตอบสนองกับอินซูลิน ทั้งที่ผลิตอินซูลินได้เป็นปกติ
โดยผู้ป่วยจะมีระดับอินซูลินปกติหรือสูง
สาเหตุที่เป็นเบาหวานเพราะมีภาวะต้านต่ออินซูลิน
การรักษาผู้ป่วยประเภทนี้ แพทย์จะแนะนำผู้ป่วยควบคุมอาหาร
ให้ออกกำลังกาย จะช่วยในการควบคุมโรคเบาหวานได้
ระดับน้ำตาลในเลือดในการตรวจหาเบาหวาน
ระดับน้ำตาล | อาการ |
ก่อนอาหาร มีค่า 100 – 125 มล./ดล. | เสี่ยงเป็นเบาหวาน |
ก่อนอาหาร มีค่า ≥126 มล./ดล. | เป็นเบาหวาน |
หลังอาหาร มีค่า ≥200 มล./ดล. | เป็นเบาหวาน |
🌾 วีทกราส มีเส้นใยอาหารสูง (พรีไบโอติก)
เส้นใยอาหารมี 2 ประเภท
1.เส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำได้
2.เส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ
🥬 เส้นใยอาหารชนิดละลายน้ำ
1.ช่วยในการดักจับน้ำตาล ส่งผลให้น้ำตาลถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างช้าๆ เป็นการลดการทำงานของ
ตับอ่อน(ตับอ่อนทำหน้าที่ผลิตอินซูลิน) ซึ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงเร็ว เป็นการควบคุมน้ำตาลโดย
ธรรมชาติ
2.เป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ดีในลำไส้ใหญ่ เมื่อจุลินทรีย์ดีมีมากก็จะช่วย
กำจัดจุลินทรีย์ไม่ดี ที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ ส่งผลให้ภูมิต้านทานของร่างกายดีขึ้น
3.ช่วยให้ระบบขับถ่ายของเสียดีขึ้น ลดปัญหาท้องผูก ติดเชื่อในลำไส้ มะเร็งลำไส้
🥬 เส้นใยอาหารชนิดไม่ละลายน้ำ
- ช่วยให้ทานอาหารได้น้อยลง
- ช่วยเพิ่มมวลของอุจจาระ
- ช่วยขจัดของเสียออกจากลำไส้
- ช่วยให้ทานอาหารน้อยลง
🥬 พรีไบโอติก
คือเส้นใยอาหารชนิดที่ละลายน้ำได้ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อย แต่จะเป็นอาหารให้กับจุลินทรีย์ดี ในลำไส้ใหญ่
ส่งผลให้จุลินทรีย์ดีมีปริมาณที่มากขึ้น จุลินทรีย์ดีจะทำหน้าที่กำจัดจุลินทรีย์ไม่ดี ที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เมื่อจุลินทรีย์ดีมีมาก
ภูมิต้านทานของร่างกายก็จะดีขึ้นตาม เราสามารถได้รับพรีไบโอติกจากการทาน ผักผลไม้สด หรือจากการทานอาหารเสริม
พรีไบโอติกที่เรารู้จักเช่น FOS(ฟรุตโตโอลิโกแซคคาไรด์) อินูลิน เป็นต้น