แคลเซียมจากสาหร่ายทะเลสีแดง (Lithothamnion coralioides)

สาหร่ายสีแดงพันธุ์ Lithothamnion sp ถูกค้นพบว่ามีแร่ธาตุแคลเซียมในปริมาณที่สูงและยังมีแร่ธาตุอื่นๆ อีกรวม 74 ชนิด และมีโครงสร้างที่แตกต่างแคลเซียมที่ได้จากหินปูน โดยจากการทดสอบ พบว่ามีพื้นที่สัมผัส มากกว่าแคลเซียมจากหินปูนถึง 10 เท่า

และเมื่อนำมาทดสอบการแตกตัวในแบบจำลองระบบย่อยอาหาร พบว่าสามารถแตกตัวได้ถึง 86.5%

ปัจจุบันได้มีการนำแคลเซียมจากสาหร่ายทะเลไปใช้อย่างกว้างขวาง เพราะมีความปลอดภัย และมีประสิทธิผลที่ดีต่อร่างกาย

แคลเซียมจากสาหร่ายทะเลสีแดง(Aquamin) จากแหล่งเก็บเกี่ยว บริเวณ Bíldudalur ประเทศไอร์แลนด์ขั้วโลกเหนือซึ่งเป็นทะเลที่สะอาด ปลอดมลภาวะเป็นพิษ โดยได้นำมาทดสอบพบว่า มีแคลเซียมสูงถึง 32 % แมกนีเซียม 2.2% และแร่ธาตุอื่นๆอีก 72 ชนิด

แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล จากไอร์แลนด์
clip source calcium

การแตกตัวและการดูดซึม

เนื่องจากโครงสร้างของ แคลเซียมสาหร่ายทะเล เป็นโครงสร้างแบบพืช(เหมือนรังผึ้ง)และมีพื้นที่ผิวสัมผัส ที่มากกว่าแคลเซียมจากหินปูน ประมาณ 10 เท่า ดังนั้นจึงทำให้ย่อยง่าย ดูดซึมง่าย ลดปัญหาที่เกิดจากการทานแคลเซียมทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการท้องผูก
จากงานวิจัยเปรียบเทียบ แคลเซียมจากสาหร่ายทะเลและแคลเซียมจากหินปูนพบว่า แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล มีความสามารถแตกตัวได้ 86.5% ส่วนแคลเซียมจากหินปูน Dolomite แตกตัวได้เพียง 36.5% เท่านั้น

แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล โครงสร้าง

ข้อดีของแคลเซียมจากสาหร่ายทะเล

✅ ไม่มีการอุดตันของแคลเซี่ยมในระบบหลอดเลือดหัวใจเมื่อบริโภคไปมากกว่า 4 ปี (Effects of supplementation with a calcium-rich marine-derived multi-mineral supplement and short-chain fructo-oligosaccharides on serum lipids in postmenopausal women, Barbara E. Cronin, Philip J. Allsopp, Mary M. Slevin, Pamela J. Magee, M. Barbara E. Livingstone, Mary M. Slevin, Pamela J. Magee, M. Barbara E. Livingstone, J. J. Strain and Emeir M. McSorley*)
✅ เสริมสร้างการสร้างกระดูกให้แข็งแรง
✅ มีความเป็นด่างสูง pH 9.5-10.5
✅ ไม่มีสารก่อให้เกิดภูมแพ้
✅วัตถุดิบจากธรรมชาติ (Calcium from Natural) ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี (No Chemical Treat)
✅ มีผลึกโครงสร้างที่ช่วยให้แตกตัวและดูดซึมได้ดี
✅ มีแร่ธาตุต่างๆ 74 ชนิด มีแคลเซียมสูง 32% และแมกนีเซียม 2.2%


ร่างกายใช้แคลเซียมอย่างไร?

โดยปกติในทุกๆวันร่างกายจะมีขบวนการใช้แคลเซียม 3 ขบวนการด้วยกันคือ
1.การสลายแคลเซียมออกมาใช้ตามความต้องการของร่างกายเช่น การผลิตฮอร์โมน การใช้แคลเซียมในระบบประสาท เป็นต้น
2.การปรับแต่งตามการใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่นคนที่ชอบยืนเอียง หลังโค้ง ขาโก่ง
3.การดูดกลับแคลเซียมไปเก็บสะสมไว้ใช้ เมื่อมีแคลเซียมเหลือจากขบวนการต่างๆ ส่วนหนึ่งจะถูกขับทิ้งออกนอกร่างกาย และบางส่วนร่างกายจะดูดกลับไปสะสมในกระดูก

โดยพาราไทรอยด์ฮอร์โมน(PTH) จะเป็นส่วนควบคุมการทำงานให้เป็นไปตามความต้องการของร่างกาย


ปริมาณความต้องการแคลเซียมต่อวัน seaweed calcium

ผลจากการที่ร่างกายขาดแคลเซียม?

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกายและถูกนำไปใช้ในแทบทุกกระบวนการของร่างกาย ไม่เพียงกระดูกและฟัน แคลเซียมยังเป็นสารสือประสาท เชื่อมต่อข้อมูลของระบบประสาท รวมไปถึงปฏิกริยาต่างๆของร่างกาย ส่วนใหญ่ต้องใช้แคลเซียมเป็นตัวร่วมปฏิกริยา

โรคที่อาจเกิดจากการขาดแคลเซียม
❌ โรคกระดูกพรุน กระดูกเปราะบาง
❌ ตัวเตี้ย
❌ อาการนอนไม่หลับ
❌ โรคความดันสูง
❌ โรคหัวใจ หลอดเลือด
❌ อัลไซเมอร์ ความจำเสื่อม
❌ ฟันบาง แตกหัก
❌ โรคเครียด ไมเกรน
❌ นิ่วในไต ถุงน้ำดี
❌ ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่
❌ ปวดประจำเดือน
❌ เกร็งกล้ามเนื้อ 

ดังนั้นหากร่างกายขาดแคลเซียมสิ่งที่ตามมาคือความบกพร่องที่ค่อยๆ ตามมาของระบบต่างๆ เหมือนเครื่องยนต์ที่เริ่มบกพร่องและหากไม่ได้ซ่อมก็จะเริ่มลุกลามไป และส่งผลเสียมากขึ้น


จำเป็นหรือไม่ที่ต้องเสริมแคลเซียมทุกวัน ? 

การรับประทานแคลเซียมเสริมเหมาะกับ ผู้ที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในแต่ละวัน เมื่อร่างกายขาดแคลเซียมก็จะดึงส่วนที่สะสมออกมาใช้ และหากเป็นเช่นนี้ทุกวันก็จะส่งผลให้เกิดสภาวะกระดูกบาง


seaweed-bone-06

 

วิธีเลือกซื้อแคลเซียม ?

✅ จากแหล่งธรรมชาติหรือสังเคราะห์
✅ ความสามารถในการแตกตัวและย่อย
✅ ความสามารถในการถูกดูดซึมไปใช้
✅ มีส่วนประกอบของวิตามินดี ช่วยเพิ่มความสามารถในการดูดซึมได้ดี
✅ ไม่ก่อให้เกิดการตกค้างเป็นนิ่ว

seaweed-bone-06

สาเหตุที่สตรีวัยทอง ต้องการแคลเซียมในปริมาณที่สูงกว่า?

จากการศึกษาพบว่าสตรีที่เข้าสู่วัยทองส่วนใหญ่ มักจะมีปัญหาสุขภาพตามมาและมีอาการผิดปกติเช่น อาการร้อนวูบวาบ ไมเกรน ปวดเมื่อยง่าย อารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย เป็นต้น 

สาเหตุเมื่อเข้าสู่วัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน ลดน้อยลง ในงานวิจัยพบว่า ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดน้อยมีส่วนสัมพันธ์กับความสามารถในการดูดซึมแคลเซียม ที่ลดน้อยลงด้วยเช่นเดียวกัน 

สตรีในวัยทองจึงควรเพิ่มปริมาณการรับประทานแคลเซียมเพิ่มขึ้นเพื่อชดเชย ความสามารถที่ร่างกายดูดซึมได้ลดลง 

แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล seaweed calcium
วิตามินดี3 ช่วยให้แคลเซียมดูดซึมดีมากขึ้นได้อย่างไร?

วิตามินดี 3 (Cholecalciferol) มีบทบาทสำคัญในร่างกายและมีประโยชน์หลายประการ ดังนี้:

- ส่งเสริมการดูดซึมแคลเซียม: วิตามินดี 3 ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการเสริมสร้างและรักษาความแข็งแรงของกระดูกและฟัน

- เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน: วิตามินดี 3 มีบทบาทในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและลดความเสี่ยงในการเกิดการติดเชื้อต่างๆ

- ส่งเสริมการทำงานของกล้ามเนื้อ: วิตามินดี 3 ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อและป้องกันการเกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและตะคริว

- ช่วยในการทำงานของระบบประสาท: วิตามินดี 3 มีบทบาทในการส่งสัญญาณประสาทและช่วยในการทำงานของระบบประสาท

- ลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน: การได้รับวิตามินดี 3 อย่างเพียงพอช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุนและการเกิดกระดูกหัก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ

- ช่วยลดการอักเสบ: วิตามินดี 3 มีคุณสมบัติในการลดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งมีประโยชน์ในการลดความเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังบางชนิด เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด, เบาหวาน และโรคอักเสบเรื้อรังอื่นๆ

- ส่งเสริมสุขภาพจิต: มีการวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าวิตามินดี 3 อาจมีบทบาทในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้าและช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตโดยรวม

-ช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด: วิตามินดี 3 มีบทบาทในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานประเภท 2

การได้รับวิตามินดี 3 อย่างเพียงพอสามารถทำได้โดยการได้รับแสงแดดเพียงพอ, การบริโภคอาหารที่มีวิตามินดี 3 สูง เช่น ปลาที่มีไขมันสูง, ไข่แดง, และนมเสริมวิตามินดี, หรือการทานวิตามินดี 3 เสริมตามคำแนะนำของแพทย์

มีข้อควรระวังในการรับประทานแคลเซียมดังนี้:

- การทานแคลเซียมเกินความต้องการ: การทานแคลเซียมมากเกินไปอาจทำให้เกิดการสะสมของแคลเซียมในเลือดสูง (hypercalcemia) ซึ่งสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น นิ่วในไต, ปัญหาหัวใจและหลอดเลือด, และปัญหากระเพาะอาหาร

- การทานร่วมกับยาอื่นๆ: แคลเซียมสามารถทำปฏิกิริยากับยาบางชนิด เช่น ยาลดกรด, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, และยาบางชนิดที่ใช้รักษาโรคกระดูกพรุน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มทานแคลเซียมเสริม

- การดูดซึมแคลเซียม: การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น วิตามินดี ซึ่งช่วยในการดูดซึมแคลเซียม หากร่างกายขาดวิตามินดี การทานแคลเซียมอาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการ

- การบริโภคแคลเซียมจากอาหารธรรมชาติ: ควรเน้นการบริโภคแคลเซียมจากแหล่งอาหารธรรมชาติ เช่น นม, โยเกิร์ต, ชีส, ผักใบเขียว, และถั่วต่างๆ ซึ่งมักจะมีประโยชน์เสริมอื่นๆ ด้วย

- การแบ่งปริมาณการทาน: หากต้องการทานแคลเซียมเสริมในปริมาณสูง ควรแบ่งทานในมื้ออาหารต่างๆ แทนการทานทั้งหมดในครั้งเดียว เพราะร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมได้ในปริมาณจำกัดในแต่ละครั้ง

การดูแลการบริโภคแคลเซียมให้เหมาะสมจะช่วยให้ร่างกายได้รับประโยชน์สูงสุดโดยไม่มีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์
สนใจสั่งซื้อสินค้าได้ที่:
หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่:

บทความแนะนำ

Wheatgrass (วีทกราส)

ต้นอ่อนข้าวสาลี จากแหล่งออแกนิค

หน้าที่การทำงานของตับ (Liver)

ตับอวัยวะที่ใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่หลากหลาย ตั้งแต่สร้างฮอร์โมน กรองสารพิษ...

ความต่างของคลอโรฟิลล์ธรรมชาติและคลอโรฟิลล์สังเคราะห์

คลอโรฟิลล์ มีประโยชน์มากมาย แต่สิ่งที่หลายคนไม่รู้คือคลอโรฟิลล์ ชนิดสังเคราะห์หลายประเท

รู้จักแคลเซียมจากสาหร่ายทะเล

แคลเซียมจากสาหร่ายทะเล เป็นแหล่งแคลเซียมที่ปลอดภัย มาจากพืช 100% ย่อยง่าย ท้องไม่ผูก

บทความที่น่าสนใจ

📗 Wheatgrass (วีทกราส)

📗 หน้าที่การทำงานของตับ (Liver)

📗 ความต่างของคลอโรฟิลล์ธรรมชาติและคลอโรฟิลล์สังเคราะห์

📗 รู้จักแคลเซียมจากสาหร่ายทะเล

📗 พรีไบโอติก คืออาหารของเชื้อจุลินทรีย์ดีในลำไส้

📗 รู้จักโคเอ็นไซม์คิวเท็น (Q10)

📗 Collagen Tripeptide (คอลลาเจน)

📗 แครอทมีเบต้าแคโรทีน ช่วยดูแลดวงตา