🎃 แครอท (Carrot) เป็นพืชกินหัวชนิดหนึ่ง มีลักษณะยาว หัวแครอทมีหลายสี เช่น เหลือง ม่วง ส้ม แต่ที่นิยมรับประทานในปัจจุบันคือสีส้ม เป็นพืชแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียกลาง มีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กเท่าแท่งดินสอ หรือที่เรียกว่าเบบี้แครอท (อังกฤษ: Baby Carrot) ไปจนถึง ขนาดใหญ่
🎃 แครอท (Carrot) ช่วยบำรุงสายตา เพราะในแครอทมีสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิตามินที่ร่างกายต้องการ อีกทั้งมีประโยชน์ที่ช่วยในเรื่องของการบำรุงสายตาของเราด้วย โดยเฉพาะเนื้อเยื่อชั้นในของดวงตา หรือที่เรียกว่า เรติน่า ซึ่งการที่ได้รับประทานแครอทบ่อย ๆ ยังช่วยถนอมดวงตาให้สามารถมองเห็นอย่างปกติไปได้อีกนาน เพราะแครอท (Carrot) อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์หลายชนิด เช่น เบต้าแคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก และยังมีสารสำคัญคือสาร “ฟอลคารินอล” (falcarinol) ซึ่งช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็ง เป็นต้น
สรรพคุณของแครอท
- ช่วยบำรุงและรักษาสายตา รักษาโรคตาฟาง และต้อกระจก
- ช่วยป้องกันเซลล์ผิวไม่ให้ถูกทำลายได้ง่ายจากมลภาวะแสงแดดต่าง ๆ
- ช่วยบำรุงกระดูก ฟัน เหงือก เล็บ ให้แข็งแรงยิ่งขึ้น
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ
- ช่วยบำรุงเส้นผม
- ช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤษ์ อัมพาต
- ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคหัวใจและภาวะหัวใจล้มเหลว
- เป็นต้น
วีทกราสต้นอ่อนข้าวสาลี มีเบต้าแคโรทีน
อ่านข้อมูลวีทกราส
รู้จักเบต้าแคโรทีน
เบต้าแคโรทีน เป็นสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งจะช่วยชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม ร่างกายสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนไปเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยป้องกันตาแห้งและตาบอดกลางคืน ทั้งเบต้าแคโรทีนและวิตามินเอยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
ข้อควรระวังในการทานแครอท
🎃 แครอท นั้นนอกจากจะมีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่สิ่งที่ต้องระวังก็คือสารตะกั่วที่อาจจะเป็นของแถมที่คุณไม่ต้องการ เพราะถ้าแครอทที่นำมาขายนั้นเพาะปลูกใกล้แหล่งอุตสาหกรรมหรือ ใกล้แหล่งน้ำที่มีสารตะกั่วปนเปื้อน จะทำให้แครอทดูดซึมสารตะกั่ว เข้าไปสะสมในหัวแครอทได้ การนำมารับประทานสด ๆ จึงเท่ากับว่าร่างกายได้รับสารตะกั่วเข้าไปเต็ม ๆ แต่สารตะกั่วนั้นการปลอมปนเพียงเล็กน้อยถือว่าเป็นเรื่องปกติถ้า ไม่เกินค่ามาตรฐานคือ 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัมถือว่า รับประทานได้อย่างอย่างปลอดภัย ดังนั้นควรเลือกซื้อแครอทที่มาจากแหล่งเพาะปลูกที่ปลอดภัย หรือเลือกรับประทานผักผลไม้ให้หลากหลาย และการรับประทานแครอทสีส้ม เป็นจำมากเป็นประจำติดต่อกันอาจทำให้สีผิวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองได้ (สารตะกั่วมีผลเสียโดยตรงกับระบบประสาท ระบบการทำงานของไต ทางเดินอาหาร เซลล์ไขกระดูก อาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน โรคโลหิตจาง ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกง่าย)
บทความแนะนำ

รู้จักโคเอ็นไซม์คิวเท็น (Q10)
โคเอ็นไซม์คิวเท็น สารอาหารที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้น มีส่วนสำคัญมากกับหัวใจ และหลอดเลือด

พรีไบโอติก คืออาหารของเชื้อจุลินทรีย์ดีในลำไส้
ลำไส้ดี สะอาด มีจุลินทรีย์ดีจำนวนมาก ช่วยให้ภูมิต้านทานดี แข็งแรง

แครอทมีเบต้าแคโรทีน ช่วยดูแลดวงตา
ผักสีส้มอาหารโปรดของหลายคน ทั้งผัด ทั้งสลัด คุณค่าจากธรรมชาติช่วยดูแลดวงตา

หน้าที่การทำงานของตับ (Liver)
ตับอวัยวะที่ใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่หลากหลาย ตั้งแต่สร้างฮอร์โมน กรองสารพิษ...
บทความที่น่าสนใจ
📗 รู้จักโคเอ็นไซม์คิวเท็น (Q10)
📗 พรีไบโอติก คืออาหารของเชื้อจุลินทรีย์ดีในลำไส้
📗 แครอทมีเบต้าแคโรทีน ช่วยดูแลดวงตา
📗 หน้าที่การทำงานของตับ (Liver)
📗 Collagen Tripeptide (คอลลาเจน)